การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ

ชื่อผลงานทางวิชาการ การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ชื่อผู้เสนอผลงาน นางลัดดาพร ศรีทองสุข
ปีที่จัดทำผลงาน 2563

บทคัดย่อ

          การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นการนิเทศภายในแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ชัยภูมิ 2) เพื่อออกแบบและการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 3) เพื่อทดลองการใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนสระพังวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย 250 คน คือ ครูผู้สอนและนักเรียน จำแนกเป็นครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 23 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 227 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต และ ประเด็นสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test ค่า t –test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้  1) การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู เอสพีดับบลิวเอส (SPWS Model) ประกอบด้วย หลักการมุ่งเน้นกระบวนการนิเทศที่เป็นระบบสัมพันธ์กันและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการนิเทศและการทำวิจัยในชั้นเรียน กระบวนการนิเทศ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่1 Classifying : Cการคัดกรองระดับความรู้ความสามารถ ทักษะที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อจัดกลุ่มครูและเลือกวิธีการนิเทศที่เหมาะสมสำหรับครูแต่ละกลุ่มขั้นตอนที่ 2 Informing : I การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ ขั้นตอนที่ 3 Proceeding : P การดำเนินงาน ได้แก่ 3.1 การประชุมก่อนการสังเกตการสอน (Pre conference) 3.2 การสังเกตการสอน (Observation) 3.3 การประชุมหลังการสังเกตการสอน (Post conference) ขั้นตอนที่ 4 Evaluating : E การประเมินผลการนิเทศโดยมีการกำกับติดตาม (Monitoring) อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอน 2) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูผู้นิเทศ มีสมรรถนะในการนิเทศภายในแบบบูรณาการ อยู่ในระดับ สูง และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแตกต่างกันอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายในแบบบูรณาการก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ มีสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับ สูงมาก และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการอยู่ในระดับ มากที่สุด และนักเรียนมีผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบบูรณาการ ของครูผู้รับการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ นักเรียนมีผลการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ

Message us
Skip to content